ภาพรวม
- ในบทนี้กล่าวถึง อ.เปาโล กล่าวถึงอัครทูตปลอมและการทนทุกข์ยากลำบากต่างๆของเขาในการปรนนิบัติรับใช้พระเจ้า
# แนวคิด
@ การประยุกต์ใช้
1# เราถูกหมั้นท่านไว้แล้วกับพระคริสต์ เพื่อรอเข้าร่วมครอบครองกับพระองค์
ดังนั้นเราสมควรดำเนินชีวิตดังพรหมจารีบริสุทธิ์แด่พระคริสต์ ไม่นอกใจพระคริสต์ไปเอาใจใส่พระอื่น หรือ สิ่งยั่วยวนแห่งโลกนี้
1.@ พระเจ้าทรงรักเราและทรงหวงแหนเรา ดังคู่หมั้นที่หวงแหนคู่หมั้นของตน
เราไม่สมควร เอาใจออกห่างจากพระเจ้า ไปรักหรือสนใจสิ่งอื่นมากกว่าพระองค์
2.# ใน 2คร. 11:15 กล่าว่ามีบางคนเป็นผู้ปรนนิบัติซาตาน แต่ปลอมตัวมาเป็นผู้ปรนนิบัติพระเจ้า ซึ่งเราจะสังเกตได้จากบั้นปลายของพวกเขา จะไม่จำเริญขึ้น จะไม่เกิดผล
2.@ เราควรสำรวจตัวเองอยู่เสมอว่า การรับใช้ของเราวันนี้ เราปรนนิบัติพระเจ้า หรือ กำลังทำเพื่อตนเอง หรือ กำลังปรนนิบัติค่านิยมของโลกนี้ หรือแม้กระทั่งกำลังปรนนิบัติซาตานโดยไม่รู้ตัว
3.# ใน 2คร. 11:21 กล่าวว่า การพูดโอ้อวด เป็นการพูดอย่างคนโง่เขลา
3.@ วันนี้ หากเราเห็นคนที่กำลังโอ้อวดตนเองต่อผู้อื่น ไม่จำเป็นต้องไปหมั่นไส้หรือเดือดเนื้อร้อนใจ เพราะเขาก็แค่กำลังสำแดงความโง่เขลาของเขาให้คนอื่นดูเท่านั้นเอง
แต่ที่สำคัญคือ เราอย่าไปสำแดงความโง่เหมือนกับเขาก็แล้วกัน
4.# สิ่งที่ อ.เปาโล ประสบในการรับใช้พระเจ้าอย่างสัตย์ซื่อ ได้แก่
– ตรากตรำลำบาก
– ติดคุกหลายครั้ง
– หวิดตายบ่อยๆ
– ถูกพวกเดียวกันเองอย่างพวกยิวเฆี่ยน 5 ครั้ง ครั้งละ 39 ที รวมเป็น 195 ครั้ง
– ถูกตีด้วยไม้ตะบอง ตามการลงโทษของทหารโรม 3 ครั้ง
– ถูกก้อนหินขว้าง 1 ครั้ง
– เรือแตก 3 ครั้ง
– ลอยอยู่ในทะเล 1 วัน 1 คืน
– เดินทางบ่อยๆ
– เผชิญภัยในแม่น้ำ
– เผชิญโจรภัย
– เผชิญภัยจากชนชาติตนเอง
– เผชิญภัยจากคนต่างชาติ
– เผชิญภัยในเมือง
– เผชิญภัยในป่า
– เผชิญภัยในทะเล
– เผชิญภัยจากพี่น้องจอมปลอม
– ต้องตรากตรำและลำบาก
– ต้องอดหลับอดนอนบ่อยๆ
– ต้องหิวและกระหาย
– ต้องอดข้าวบ่อยๆ
– ต้องทนหนาวและเปลือยกาย
ถึงกระนั้น อ.เปาโล ยังคงสัตยซื่อในการปรนนิบัติรับใช้พระเจ้าจนวันตาย
4.@ การรับใช้พระเจ้า ไม่จำเป็นต้องพบแต่ความสะดวกสบาย ราบรื่น หรือความสุขสำราญเสมอไป
บางครั้งพระเจ้าอนุญาตให้เรา พบกับความทุกข์ยาก ปัญหา อุปสรรค บางอย่าง เพื่อเป็นบทพิสูจน์ความรักและความสัตย์ซื่อที่เรามีต่อพระองค์ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั้งปวงว่า “ฉันรักพระเยซูจริงๆ”
คำคม
“ รับใช้พระเจ้า หรือ รับใช้ตัวเอง แยกแยะได้
โดยดูจากแรงจูงใจในการรับใช้นั้น”