ขุมทรัพย์ ทิตัส 2

ภาพรวม

  • ในบทนี้ อ.เปาโลสอนทิตัส ให้สอนคนกล่มต่างๆให้ดำเนินชีวิตเป็นที่ถวายพระเกียรติแด่พระเจ้า ให้สมกับเป็นผู้ที่ได้รับพระคุณของพระเจ้าแล้ว

# แนวคิด

@ การประยุกต์ใช้

1# ใน ทต. 2:1-10 อ.เปาโลแนะนำให้ทิตัส สอนคนกลุ่มต่างๆ ดังนี้
– ผู้​ชาย​สูง​อายุ​ : สอนพวกเขาให้
>> ​รู้จัก​ประ​มาณ​ตน
>> มี​ความ​น่า​นับ​ถือ
>> มี​สติ​สัมป​ชัญญะ
>> มี​ความ​เชื่อ​ที่​ถูกต้อง
>> มี​ความ​รัก
>> มี​ความ​ทรหด​อด​ทน
– ​ผู้​หญิง​สูง​อายุ​ : สอน​พวก​นาง​ให้
>> ​ประ​พฤติ​ให้น่า​นับถือ
>> ไม่​ใส่​ร้ายคนอื่น
>> ไม่​ติด​เหล้า
>> ​เป็น​ผู้​สอน​สิ่ง​ที่​ดี​งามแก่หญิงสาว ได้แก่สอนพวกเธอให้
>>>>> รัก​สามี​และ​บุตร​ของ​พวก​ตน
>>>>> มี​สติ​สัมป​ชัญญะ
>>>>> เป็น​คน​บริ​สุทธิ์
>>>>> ดูแล​บ้าน​เรือน​อย่าง​ดี
>>>>> มี​ความ​เมต​ตา​
>>>>> ​เชื่อ​ฟัง​สามี​ของ​ตน
– ​ชาย​หนุ่ม​ : สอนพวกเขาให้
>> ​มี​สติ​สัมป​ชัญญะ
>> ​ประ​พฤติ​ตาม​แบบ​อย่าง​อันดี ที่ทิตัสได้วางแบบอย่างไว้
>> ดำเนินชีวิตอย่าง​ถูกต้อง​ที่​ไม่​มี​ใคร​จะ​ตำ​หนิ​ได้
– ​คนที่เป็นทาส​ : สอนพวกเขาให้
>> เชื่อ​ฟัง​นาย​ของ​ตน
>> ​ทำ​สิ่ง​ที่​ถูก​ใจ​นาย​ทุก​อย่าง
>> อย่า​เถียง​นาย
>> อย่า​​ยัก​ยอก​
>> ​สำ​แดง​ความ​ซื่อ​สัตย์​และ​ดี​งาม​ใน​ทุก​อย่าง

1.@ ในการสอนคนแต่ละประเภทย่อมมีความแตกต่างกัน การใช้พระคัมภีร์เป็นแนวทางในการสอนนั้นจะทำให้เราสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
สิ่งที่สำคัญมากสำหรับการสอน ก็คือ การมีชีวิตที่เป็นแบบอย่างสอดคล้องกับคำสอนนั้น
วันนี้ เราทำตามสิ่งที่เราสอนหรือเปล่า?

2.# ใน ทต. 2:11 สอนว่า พระ​คุณ​ของ​พระ​เจ้าที่ทรงสำแดงแก่เรานั้น
– เพื่อ​ช่วย​ทุก​คน​ให้​รอด
– ​เพื่อ​สอน​เรา​
>>> ให้​ละ​ทิ้ง​ความ​อธรรม​และ​โล​กีย​ตัณ​หา
>>> ​ให้​ดำ​เนิน​ชีวิต​ใน​ยุค​นี้​อย่าง​มี​สติ​สัมป​ชัญญะ อย่าง​ชอบ​ธรรม​
>>> ​ให้​ดำ​เนิน​ตาม​ทาง​พระ​เจ้า
– เพื่อ​ไถ่​เรา​ให้​พ้น​จาก​การ​อธรรม​ทุก​อย่าง
– ​เพื่อ​ชำระ​เรา​ให้​บริ​สุทธิ์
– เพื่อเราจะ​ได้​เป็น​ประ​ชา​กร​ของ​พระ​องค์​ซึ่ง​มี​ใจ​กระ​ตือ​รือ​ร้น​ที่​จะ​ทำ​การ​ดี

2.@ โดยพระคุณของพระเจ้า เราจึงได้รับความรอดแล้ว
จากนี้ไป เราสมควรดำเนินชีวิตให้สมกับผู้ที่ได้รับความรอดแล้ว ด้วยการละทิ้งการอธรรมทั้งหลาย และดำเนินชีวิตในทางของพระเจ้าอย่างมีสติ รู้ว่าสิ่งสารพัดในโลกนี้เป็นเพียงสิ่งชั่วคราว อีกไม่นานเราก็จะได้เข้าไปอยู่ในแผ่นดินแห่งพระบิดาของเราแล้ว

คำคม

“ ผู้มีสติ คือ ผู้ที่รู้ตัวว่าสิ่งของวันนี้นั้นชั่วคราว สิ่งของวันหน้านั้นถาวรนิรันดร์ ”