สรุป ปัญญาจารย์ 4

ภาพรวม

  • ปัญญาจารย์ บทที่ 4 ชี้ให้เห็นถึงความว่างเปล่า ความไร้ค่า ของการตรากตรำทำงานเพื่อสิ่งไร้ค่าในโลกนี้

# สรุป

@ สื่งที่เรียนรู้

ปัญญาจารย์ บทที่ 4

เมื่อปัญญาจารย์พิ​จาร​ณาเรื่อง ​การ​ข่ม​เหง​ พบว่า
ทั้ง​ผู้​ถูก​ข่ม​เหง และผู้​ข่ม​เหง​ ก็ล้วนไม่​มี​ใคร​ปลอบ​ใจ​เขา​ได้

​คน​ตาย​ที่​ตาย​ไป​แล้ว ​ดี​กว่า​คน​ที่​ยัง​มี​ชีวิต​อยู่
คน​ที่​ยัง​ไม่​เคยเกิดมาเลย ก็ดียิ่งกว่า

สิ่งเหล่านี้ล้วนว่างเปล่า ไร้ค่า
– คน​ตราก​ตรำ​ทำงานสิ่งต่างๆ ​เพราะ​ความ​ริษยา​ ​ที่​มี​ต่อ​เพื่อน​บ้าน​
– คนตรากตรำทำงานได้สิ่งของมากกว่าคนอื่น แต่ก็ไม่ได้ทำให้เขามีความสุขกว่าคนอื่นเลย
– คนตรากตรำทำงานไม่​หยุด แต่ก็​ไม่​เคย​อิ่ม​ความ​มั่ง​คั่ง แล้วในที่สุดก็ต้องละทิ้งของเหล่านั้นให้คนอื่น

สอง​คน​ดี​กว่า​คน​เดียว เพราะยามมีปัญหาจะได้ช่วยกันได้
และ​​ย่อม​ต่อ​สู้ปัญหาได้ดีกว่า

คน​หนุ่ม​ยาก​จน​ ที่มี​สติ​ปัญ​ญา ​ก็​ดี​กว่า​กษัตริย์​ชรา​ ที่​โฉด​เขลา ผู้​ไม่​รับ​คำ​แนะ​นำ​อีก​แล้ว
แต่ถึงกระนั้น คน​ที่​มา​ภาย​หลังพวกเขา​ก็​ไม่ได้จดจำพวกเขาทั้งสองอยู่ดี

1. เนื่องจากในสมัยของซาโลมอน พระเยซูคริสต์ยังไม่ได้เสด็จมา
ด้วยสติปัญญาอันชาญฉลาดของเขา จึงพบว่า
สำหรับมนุษย์แล้วไม่เกิดมาก็ดีกว่า เพราะเกิดมาก็จะพบแต่ความทุกข์ยาก
แล้วก็จากไปแบบเอาอะไรไปไม่ได้เลย

แต่ในปัจจุบันความจริงยังคงเหมือนเดิม
หากตรากทำสิ่งต่างๆเพื่อตนเองหรือใครบนโลกนี้
ในที่สุดสักวันหนึ่ง สิ่งเหล่านั้นก็จะกลายเป็นสิ่งไร้ค่า
แต่เราผู้มีความหวังในพระเยซูคริสต์ หากทำสิ่งต่างๆเพื่อพระคริสต์
สิ่งที่ทำไปจะไม่ไร้ค่า เมื่อเราไปอยู่ต่อหน้าบัลลังก์ของพระคริสต์
และเป็นการดีเหลือเกินที่พระเจ้าให้เราได้เกิดมา แล้วได้รู้จักกับพระองค์
มิฉะนั้นเราคงไม่มีโอกาสได้ครอบครองร่วมกับพระองค์ชั่วนิรันดร์

2. แม้มีสิ่งของน้อยกว่าคนอื่น แต่มี​ความ​สงบ มากกว่าคนอื่น นั่นก็นับว่าดีกว่าคนอื่นมากมายนัก
วันนี้ เราผู้อยู่ในพระคริสต์ สามารถมีสันติสุขในพระเจ้าได้ ทุกที่ทุกเวลา
ดังนั้นไม่ว่าใครจะมีอะไรมากกว่าเราก็ตาม ไม่มีทางมีความสุขกว่าเราได้เลย
ขอบคุณพระเจ้า

3. สองคนดีกว่าคนเดียว และในความสัมพันธ์นั้นหากมีพระคริสต์เป็นเชือกเกลียวที่​สาม​
ผูกพันทั้งสองฝ่ายเข้าไว้ด้วยกัน โดยความรักที่พวกเขามีต่อพระคริสต์
ก็จะทำให้ความสัมพันธ์นั้น มั่นคงแข็งแรง ยืนยาวนาน ตลอดไป

คำคม

“ จงให้พระเจ้าเป็นเชือกเกลียวที่สาม ในทุกความสัมพันธ์ ”