สรุป สุภาษิต 18

ภาพรวม

  • สุภาษิต บทที่ 18 เตือนสิ่งที่โง่เขลาซึ่งไม่ควรทำ และแนะนำให้ทำสิ่งที่ควรทำ และได้กล่าวถึงความจริงของชีวิตบางประการ

# สรุป

@ สื่งที่เรียนรู้

สุภาษิต บทที่ 18

เทคนิคการเป็นคนโง่เขลา
– แยก​ตัว​ไป​จาก​ผู้​อื่น​ตลอดเวลา
– ​​แสดง​ความ​คิด​เห็น​ของ​ตน​ มากกว่าฟังความคิดของคนอื่น
– หมิ่น​ประ​มาทคนอื่น
– ​ลำ​เอียง​เข้า​ข้าง​คน​ชั่ว
– เอา​ความ​ยุติ​ธรรม​ไป​จาก​คน​ชอบ​ธรรม
– ใช้ปากหาเรื่อง ชวนทะเลาะอยู่เสมอ
– อยากพูดอะไรก็พูดไปเลย ไม่ต้องยั้งคิด
– ซุบซิบนินทาเสมอ เมื่อมีโอกาส
– ขี้เกียจตลอดเวลา
– คิดเสมอว่า เงินช่วยแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง
– หยิ่งผยอง และยโส เข้าไว้
– เวลามีคนถามอะไร ไม่ต้องรอให้เขาถามจบก่อน แย่งตอบเลยทันที

แต่คนมีปัญญานั้นจะใช้ปากเป็นพระพร พึ่งพาพระเจ้าอยู่เสมอ และ​ถ่อม​ตัว​ตลอดเวลา

ต่อไปนี้เป็นความจริงของชีวิต
ก. จิต​ใจ​ชอก​ช้ำ​ ทรมานยิ่งกว่า​ความ​เจ็บ​ป่วย
ข. คน​ที่มีความเข้าใจจะได้​ความ​รู้
ค. ของ​กำ​นัล​​ทำให้เข้าถึงผู้มีอำนาจ
ง. สิ่งที่ตอนแรกดู​เหมือนจะ​ถูก แต่เมื่อถูกสอบสวนอาจจะผิดก็ได้
จ. กฏกติกาที่ชัดเจน ป้องกันการทะเลาะวิวาท
ฉ. ความ​หมาง​ใจของพี่​น้อง​​ก็​ยาก​จะคืนดีกัน
ช. ความเป็น ความ​ตาย ​อยู่​ที่อำ​นาจ​ของ​ลิ้น(คำพูด)
ซ. คนที่มี​ภรร​ยาที่​ดี ได้รับพระพรจากพระเจ้ามาก
ฌ. คน​รู้ตัวว่ายาก​จนจะ​ใช้​คำ​วิง​วอน
ญ. ​มี​สหายบางคน​ที่​รักเรา​ยิ่ง​กว่า​พี่​น้อง

1. ทางของคนโง่เขลา เต็มไปด้วยอันตรายและปลายทางเป็นหายนะ จงหลีกออกมาให้ห่างไกล
แล้วเข้ามาเดินในทางของคนมีปัญญา

2. ความจริงของชีวิต สะท้อนให้เห็นพระคริสต์ ดังนี้
(ในพระคัมภีร์เดิม เมื่อเราเชื่อมโยงเข้ากับพระคริสต์ จะพบความหมายฝ่ายวิญญาณที่ลึกซึ้งมากมาย)

ก. พระเยซูทรงพบกับจิต​ใจ​ชอก​ช้ำ​ ซึ่งทรมานยิ่งกว่า​ความ​เจ็บ​ทางร่างกาย แทนเรา
มธ. 26:38 จึง​ตรัส​กับ​พวก​เขา​ว่า “ใจ​ของ​เรา​เป็น​ทุกข์​แทบ​จะ​ตาย จง​อยู่​ที่​นี่​และ​เฝ้า​ระวัง​กับ​เรา”

ข. พระเยซูทำให้เราเข้าใจความรักของพระเจ้า เราจึงรับรู้ความรักของพระเจ้าได้
ยน. 14:7 “ถ้า​พวก​ท่าน​รู้​จัก​เรา​แล้ว ท่าน​ก็​จะ​รู้​จัก​พระ​บิดา​ของ​เรา​ด้วย ตั้ง​แต่​นี้​ไป​ท่าน​ก็​จะ​รู้​จัก​พระ​องค์​และ​ได้​เห็น​พระ​องค์”

ค. เมื่อเข้าเฝ้ากษัตริย์ ไม่สมควรไปมือเปล่า พระเยซูทรงให้ชีวิตของพระองค์เองแก่เรา เพื่อเป็นเครื่องบูชาเมื่อเข้าเฝ้าต่อพระพักตร์พระบิดา
ฮบ. 10:12 “แต่​เมื่อ​พระ​คริสต์​ทรง​ถวาย​เครื่อง​บูชา​เพื่อ​ลบ​บาป​เพียง​ครั้ง​เดียว​สำ​หรับ​ตลอด​ไปแล้ว พระ​องค์​ก็​ประทับ​เบื้อง​ขวา​ของ​พระ​เจ้า”

ง. เดิมคนยิวคิดว่าการทำตามธรรมบัญญัติแบบเป็นพิธีของเขาดีเลิศแล้ว แต่เมื่อพระเยซูมาทำให้ธรรมบัญญัติสมบูรณ์ จึงรู้ว่าความชอบธรรมที่พวกทำนั้นใช้การไม่ได้เลย
มธ. 5:17 “…เรา​ไม่​ได้​มา​ล้ม​เลิก แต่​มา​ทำ​ให้​สม​บูรณ์​ทุก​ประ​การ”

จ. พระเจ้ากำหนดกติกาไว้แล้ว เพื่อแยกปลายทางของคนชอบธรรม กับ คนบาป ออกจากกัน
กติกาเดิมคือ ต้องทำตามธรรมบัญญัติจึงชอบธรรม แต่เมื่อมนุษย์ทำไม่ได้ พระเจ้าให้กติกาใหม่ คือ เชื่อวางใจในพระเยซูจะได้เป็นคนชอบธรรม
รม. 3:22 “คือ​ความ​ชอบ​ธรรม​ของ​พระ​เจ้า ซึ่ง​ปรากฏ​โดย​ความ​เชื่อ​ใน​พระ​เยซู​คริสต์แก่​ทุก​คน​ที่​เชื่อ โดย​ไม่​ทรง​ถือ​ว่า​เขา​แตก​ต่าง​กัน”

ฉ. ความ​หมาง​ใจระหว่างพี่​น้อง​ยาก​จะคืนดีกัน แต่โดยทางพระเยซูคริสต์ เราได้กลายมาเป็นหนึ่งเดียวกัน
อฟ. 2:14 “เพราะ​ว่า​พระ​องค์​เอง​ทรง​เป็น​สันติ​ภาพ​ของ​เรา โดย​ร่าง​กาย​ของ​พระ​องค์ ทรง​ทำ​ให้​ทั้ง​สอง​ฝ่าย​เป็น​หนึ่ง​เดียว​กัน และ​ทรง​รื้อ​กำ​แพง​ที่​แยก​ระหว่าง​สอง​ฝ่าย​คือ​การ​เป็น​ศัตรู​กัน”

ช. การต้อนรับเชื่อพระเยซูด้วยปากอย่างจริงใจ ช่วยคนนั้นให้พ้นจากความตาย ไปสู่ชีวิต
รม. 10:9 “คือ​ว่า​ถ้า​ท่าน​จะ​ยอม​รับ​ด้วย​ปาก​ของ​ท่าน​ว่า​พระ​เยซู​ทรง​เป็น​องค์​พระ​ผู้​เป็น​เจ้า และ​เชื่อ​ใน​ใจ​ว่า พระ​เจ้า​ได้​ทรง​ให้​พระ​องค์​เป็น​ขึ้น​มา​จาก​ความ​ตาย ท่าน​จะ​รอด”

ซ. พระเจ้าประทานคริสตจักรให้เป็นเจ้าสาวของพระคริสต์
ยน. 17:11 .”..ข้า​แต่​พระ​บิดา​ผู้​บริ​สุทธิ์ ขอ​พระ​องค์​ทรง​พิ​ทักษ์​รัก​ษา​บรร​ดา​คน​ที่​พระ​องค์​ประ​ทาน​แก่​ข้า​พระ​องค์​ไว้​โดย​พระ​นาม​ของ​พระ​องค์ เพื่อ​เขา​จะ​เป็น​อัน​หนึ่ง​อัน​เดียว​กัน​เหมือน​อย่าง​ข้า​พระ​องค์​กับ​พระ​องค์ “

ฌ. คน​รู้ตัวว่าตนเป็นคนยาก​จนฝ่ายวิญญาณ เป็นคนบาปที่ต้องการความช่วยเหลือจากพระเจ้า ย่อม​วิง​วอนขอความช่วยเหลือจากพระเยซู แล้วพวกเขาก็จะได้รับการช่วยให้รอดพ้นบาป
มธ. 5:3 “คน​ที่​ยาก​จน​ด้าน​จิต​วิญ​ญาณ​ก็​เป็น​สุข เพราะ​ว่า​แผ่น​ดิน​สวรรค์​เป็น​ของ​เขา​ทั้ง​หลาย”

ญ. พระเยซูทรงเป็น​สหายของเรา ที่รักเรามากกว่าทุกคนที่รักเรา
ยน. 15:13 “ไม่​มี​ใคร​มี​ความ​รัก​ยิ่ง​ใหญ่​กว่า​นี้ คือ​การ​สละ​ชีวิต​เพื่อ​มิตร​สหาย​ของ​ตน”

คำคม

“ พระเจ้าทรงเป็นป้อมปราการที่ลี้ภัยอันเข้มแข็ง แก่ทุกคนที่เข้ามาพึ่งพาพระองค์ ”